พันธะโลหะ
July 07, 2011
26571 views
พันธะโลหะ
จากการศึกษาในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นนักเรียนคงทราบแล้วว่าโลหะส่วนใหญ่มีสถานะเป็นของแข็ง มีจุดหลอมเหลวและจุดเดือดสูง นอกจากนี้โลหะสามารถนำไฟฟ้าและนำความร้อนได้ดี จากสมบัติที่กล่าวมาแล้วนักเรียนคิดว่าอะตอมของโลหะน่าจะยึดกันด้วยพันธะชนิดเดียวกับสารไอออนิกที่ได้ศึกษามาแล้วหรือไม่ ให้ศึกษาสมบัติบางประการของโลหะจากตาราง 2.16
ตาราง 2.16 สมบัติบางประการของสาร
จากการศึกษาในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นนักเรียนคงทราบแล้วว่าโลหะส่วนใหญ่มีสถานะเป็นของแข็ง มีจุดหลอมเหลวและจุดเดือดสูง นอกจากนี้โลหะสามารถนำไฟฟ้าและนำความร้อนได้ดี จากสมบัติที่กล่าวมาแล้วนักเรียนคิดว่าอะตอมของโลหะน่าจะยึดกันด้วยพันธะชนิดเดียวกับสารไอออนิกที่ได้ศึกษามาแล้วหรือไม่ ให้ศึกษาสมบัติบางประการของโลหะจากตาราง 2.16
ตาราง 2.16 สมบัติบางประการของสาร
สาร
|
ตัวอย่าง
|
สมบัติของสาร
|
|||
ลักษณะที่
ปรากฎ |
การนำ
ไฟฟ้า |
จุด
หลอมเหลว(oC) |
จุดเดือด (oC)
|
||
สารประกอบ
ไอออนิก |
โซเดียมคลอไรด์
(NaCl) |
ของแข็งสีขาว
|
ไม่นำ
|
801
|
1465
|
แคลเซียมฟลูออไรด์
|
ของแข็งสีขาว
|
ไม่นำ
|
1418
|
2533
|
|
โพแทสเซียมไอโอไดด์
(Kl) |
ของแข็งสีขาว
|
ไม่นำ
|
681
|
1330
|
|
สาร
โคเวเลนต์ |
น้ำตาลทราย
|
ของแข็งสีขาว
|
ไม่นำ
|
192
(สลายตัว)
|
-
|
เอทานอล
|
ของเหลวใส
ไม่มีสี |
ไม่นำ
|
-114.1
|
78.3
|
|
แก๊สไฮโดรเจน
|
แก๊สไม่มีสี
ไม่มีกลิ่น |
ไม่นำ
|
-259
|
-253
|
|
สารโครงผลึก-
ร่างตาข่าย |
เพชร (C)
|
ของแข็งใส
ไม่มีสี |
ไม่นำ
|
3550
|
4830
|
แกรไฟต์ (C)
|
ของแข็งสีดำ
|
นำ
|
3727*
|
3640
|
|
โลหะ
|
เหล็ก (Fe)
|
ของแข็งสีเงินวาว
|
นำ
|
1535
|
2750
|
ทองแดง (Cu)
|
ของแข็งสีน้ำตาลแดง
|
นำ
|
1085
|
2572
|
|
โครเมียม (Cr)
|
ของแข็งสีเงินวาว
|
นำ
|
1857
|
2672
|
* ค่าที่แสดงเป็นค่าโดยประมาณที่ได้จากการทดลองภายใต้ความดันที่เหมาะสม
จากสมบัติของโลหะในตาราง 2.16 แสดงว่าอะตอมของโลหะควรยึดเหนี่ยวกันด้วยพันธะที่แตกต่างจากพันธะไอออนิกและพันธะโคเวเลนต์ สำหรับการเกิดพันธะในโลหะอธิบายได้ว่าอะตอมของโลหะมีค่าพลังงานไอออไนเซชันต่ำจึงเสียเวเลนซ์อิเล็กตรอนแล้วกลายเป็นไอออนบวกได้ง่าย เวเลนซ์อิเล็กตรอนที่หลุดออกมานี้สามารถเคลื่อนที่อย่างอิสระไปได้ทั่วทั้งก้อนโลหะ แรงยึดเหนี่ยวอย่างแข็งแรงระหว่างไอออนบวกกับเวเลนซ์อิเล็กตรอนที่เป็นอิสระนี้เรียกว่า พันธะโลหะ ดังนั้นความแข็งแรงของพันธะโลหะจึงขึ้นอยู่กับจำนวนเวเลนซ์อิเล็กตรอนและประจุของไอออนบวกของโลหะแต่ละชนิดการเกิดพันธะในโลหะอาจแสดงได้ด้วยแบบจำลองทะเลอิเล็กตรอน ดังรูป 2.24
2.3.1 สมบัติของโลหะ
จากแบบจำลองทะเลอิเล็กตรอน จะเห็นว่าอะตอมของโลหะอยู่ค่อนข้างชิดกันและเรียงต่อเนื่องกันไม่มีที่สิ้นสุด โดยมีอิเล็กตรอนเคลื่อนที่ไปทั่วทั้งก้อนโลหะ ทำให้โลหะมีสมบัติเฉพาะตัวหลายประการที่แตกต่างจากสารอื่นเราอาจใช้แบบจำลองทะเลอิเล็กตรอนอธิบายสมบัติทางภายภาพของโลหะได้ เช่น โลหะสามารถนำความร้อนและไฟฟ้าได้ เนื่องจากเมื่อให้ความร้อนแก่โลหะ เวเลนซ์อิเล็กตรอนจะมีพลังงานสูงขึ้นจึงเคลื่อนที่ได้เร็วขึ้น เมื่อเกิดการชนกันจะถ่ายโอนพลังงานบางส่วนแก่กันและถูกถ่ายโอนต่อเนื่องกันไปจนทั่วก้อนโลหะ โลหะจึงนำความร้อนได้ และการที่โลหะมีเวเลนซ์อิเล็กตรอนเคลื่อนที่ได้อย่างอิสระทั่วทั้งก้อนโลหะ จึงทำให้โลหะนำไฟฟ้าได้ดี โลหะมีจุดหลอมเหลวและจุดเดือดสูงเพราะว่าอะตอมโลหะยึดกันไว้อย่างแข็งแรงด้วยพันธะโลหะทุกอะตอม การหลอมเหลวหรือทำให้กลายเป็นไอจึงต้องใช้พลังงานสูงมาก เช่น การหลอมเหลวทองแดงต้องใช้อุณหภูมิสูงถึง 1085 และการทำให้ทองแดงเดือดกลายเป็นไอต้องใช้อุณหภูมิสูงถึง 2572 สำหรับการตีโลหะให้แผ่ออกเป็นแผ่นและดึงเป็นเส้นได้นั้นอธิบายได้ว่า อะตอมโลหะจัดเรียงตัวเป็นชั้นๆ อย่างมีระเบียบ การทุบแผ่นโลหะเป็นการผลักให้ชั้นของอะตอมโลหะเลื่อนไถลออกไปจากตำแหน่งเดิม ทำให้แผ่นโลหะยาวออกไปและบางลง แต่อะตอมของโลหะในตำแหน่งใหม่ไม่หลุดออกจากกันเพราะมีกลุ่มเวเลนซ์อิเล็กตรอนยึดอนุภาคเหล่านั้นไว้ ดังนั้นจึงตีโลหะให้แผ่ออกเป็นแผ่นบางๆ หรือดัดให้โค้งงอ หรือดึงเป็นเส้นได้
2.2.1 การเกิดพันธะโคเวเลนต์
โมเลกุลของแก๊สไฮโดรเจนประกอบด้วยธาตุไฮโดรเจน 2 อะตอม ไฮโดรเจนทั้งสองอะตอมรวมกันอย่างไร
ไฮโดรเจนเป็นธาตุที่มีค่า IE สูงจึงเสียอิเล็กตรอนได้ยาก เมื่อไฮโดรเจน 2 อะตอมอยู่ใกล้กันจะเกิดแรงดึงดูดระหว่างอิเล็กตรอนกับโปรตอนในนิวเคลียสของทั้งสองอะตอม จึงมีแนวโน้มสูงที่จะพบอิเล็กตรอนทั้งสองอยู่ในบริเวณระหว่างนิวเคลียสของทั้งสองอะตอม และดึงดูดให้นิวเคลียสเข้ามาใกล้กันมากขึ้น ในขณะเดียวกันก็จะมีแรงผลักระหว่างโปรตอนกับโปรตอนและระหว่างอิเล็กตรอนกับอิเล็กตรอนของแต่ละอะตอมด้วย เมื่ออะตอมทั้งสองเข้ามาใกล้กันในระยะที่เหมาะสม อะตอมทั้งสองจะมีพลังงานต่ำสุดและอยู่รวมกันเป็นโมเลกุลโดยใช้อิเล็กตรอนร่วมกันแรงดึงดูดที่ทำให้อะตอมอยู่รวมกันได้ในลักษณะนี้เรียกว่า พันธะโคเวแลนต์ โมเลกุลของสารที่อะตอมยึดเหนี่ยวกันด้วยพันธะโคเวเลนต์เรียกว่า โมเลกุลโคเวเลนต์ และสารที่ประกอบด้วยอะตอมที่สร้างพันธะโคเวเลนต์เรียกว่าสารโคเวเลนต์
โมเลกุลของแก๊สไฮโดรเจนประกอบด้วยธาตุไฮโดรเจน 2 อะตอม ไฮโดรเจนทั้งสองอะตอมรวมกันอย่างไร
ไฮโดรเจนเป็นธาตุที่มีค่า IE สูงจึงเสียอิเล็กตรอนได้ยาก เมื่อไฮโดรเจน 2 อะตอมอยู่ใกล้กันจะเกิดแรงดึงดูดระหว่างอิเล็กตรอนกับโปรตอนในนิวเคลียสของทั้งสองอะตอม จึงมีแนวโน้มสูงที่จะพบอิเล็กตรอนทั้งสองอยู่ในบริเวณระหว่างนิวเคลียสของทั้งสองอะตอม และดึงดูดให้นิวเคลียสเข้ามาใกล้กันมากขึ้น ในขณะเดียวกันก็จะมีแรงผลักระหว่างโปรตอนกับโปรตอนและระหว่างอิเล็กตรอนกับอิเล็กตรอนของแต่ละอะตอมด้วย เมื่ออะตอมทั้งสองเข้ามาใกล้กันในระยะที่เหมาะสม อะตอมทั้งสองจะมีพลังงานต่ำสุดและอยู่รวมกันเป็นโมเลกุลโดยใช้อิเล็กตรอนร่วมกันแรงดึงดูดที่ทำให้อะตอมอยู่รวมกันได้ในลักษณะนี้เรียกว่า พันธะโคเวแลนต์ โมเลกุลของสารที่อะตอมยึดเหนี่ยวกันด้วยพันธะโคเวเลนต์เรียกว่า โมเลกุลโคเวเลนต์ และสารที่ประกอบด้วยอะตอมที่สร้างพันธะโคเวเลนต์เรียกว่าสารโคเวเลนต์